สถานการณ์สาธารณภัยหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในปัจจุบันเกิดขึ้นมีความถี่ และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันได้แก่ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง ภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง ภัยอันเกิดจากไฟป่า เป็นต้น
เทศบาลตำบลพลา มีหน้าที่ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยในพื้นที่ตำบลพลา และพื้นที่ข้างเคียงตั้งแต่ ก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย
ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
- ผู้ประสบภัยพิบัติแจ้งผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาลโดยทันที
- เขียนคำร้องขอรับความช่วยเหลือที่เทศบาลตำบลพลา
- เจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมกองช่าง ออกสำรวจพื้นที่ตรวจสอบความเสียหาย
- เทศบาลตำบลพลาพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ตามระเบียบฯ
-
๑. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ดำเนินการ
มาตรฐานงาน มี ๗ ด้าน
1.๑ มาตรฐานด้านแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ อปท.
๑.2 มาตรฐานด้านการซักซ้อมแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๑.3 มาตรฐานด้านการแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับสาธารณภัยผ่านสื่อต่าง ๆ และเผยแพร่ความรู้
เกี่ยวกับสาธารณภัยและการป้องกันแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
๑.๔ มาตรฐานด้านการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสาธารณภัยและการป้องกันภัยแก่ประชาชน
๑.๕ มาตรฐานด้านดําเนินการเพื่อป้องกันอัคคีภัยแก่ประชาชน
๑.๖ มาตรฐานด้านป้องกันอุบัติภัยทางถนนแก่ประชาชน
๑.๗ มาตรฐานด้านการพัฒนาเจ้าหน้าที่ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย หรืออาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
๒. แผนการดำเนินการ
ดำเนินการ
๒.๑ จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ อปท.
๒.2 จัดทำการซักซ้อมแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๒.3 จัดให้มีระบบการแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับสาธารณภัยผ่านสื่อต่าง ๆ และเผยแพร่ความรู้
เกี่ยวกับสาธารณภัยและการป้องกันแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
๒.๔ ดำเนินการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสาธารณภัยและการป้องกันภัยแก่ประชาชน
๑.๕ จัดทำกิจกรรมที่ดําเนินการเพื่อป้องกันอัคคีภัยแก่ประชาชน
๑.๖ จัดทำกิจกรรมที่ดําเนินการเพื่อป้องกันอุบัติภัยทางถนนแก่ประชาชน
๑.๗ ดำเนินการพัฒนาเจ้าหน้าที่ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย หรืออาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
๓. เป้าหมาย
ดำเนินการ
๓.๑ ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มมากขึ้น
๓.๒ ประชาชนได้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณภัยและการป้องกันภัย เพิ่มมากขึ้น
๓.๓ ประชาชนสามารถป้องกันอัคคีภัย ได้เอง เพิ่มมากขึ้น
๓.๔ ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากอุบัติภัยทางถนน ลดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มมากขึ้น
๓.๕ เจ้าหน้าที่ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย หรืออาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้รับการดำเนินการพัฒนา
ได้รับความรู้ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพิ่มมากขึ้น
|