ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
bulletมาตรการส่งเสริมคุณธรรมฯ
dot
dot




ศูนย์เรียนรู้แพทย์แผนไทย

 

ศูนย์เรียนรู้แพทย์แผนไทย

พญายอ หรือ เสลดพังพอนตัวเมีย มีชื่อท้องถิ่นหรือชื่ออื่นอีก คือ : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง)และ พญายอ (แม่ฮ่องสอน) เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า "พญายอ" ส่วนมากนำมาทำเป็นยาสมุนไพรไทยจัดอยู่ในกลุ่มพืชถอนพิษ
ต้นกุ่มน้ำ ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบ สีเทา จะผลัดใบร่วงหมดทั้งต้นเมื่อจะออกดอก ใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อย 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปไข่ ออกเรียงสลับ กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 5.5-16 เซนติเมตร ปลายกว้างแหลม โคนสอบแคบ ขอบใบเรียบ ผิวใบบางและนิ่ม หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบมีขนอ่อนสีเทา เส้นกลางใบอมแดง ปลายก้านใบมีต่อมน้ำตาลขนาด 1 มิลลิเมตร กว้าง 1-3 นิ้ว ยาว 2-9 นิ้ว ใบที่อยู่ด้านข้างโคนจะเบี้ยวเล็กน้อย  หลังใบ และท้องใบเรียบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง และซอกใบ ยาว 4-6 นิ้ว ติดดอก 20-60 ดอก กลีบดอกเมื่อแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม กลีบดอกกลมยาว 2-3 เซนติเมตร สีขาว มี 4 กลีบ กลีบล่างและกลีบบนอย่างละ 2 กลีบ แต่กลีบบนจะใหญ่กว่า เกสรตัวผู้มีก้านสีม่วงหรือสีชมพู ยาวยื่น 13-25 อัน ผลสด รูปร่างค่อนข้างกลมรี เปลือกหนา ผลอ่อนผิวมีสะเก็ดสีเหลืองอมเทา เมื่อสุกสีเทา ผลแก่ผิวเรียบยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปเกือกม้า ยาว 6-9 มิลลิเมตร มีหลายเมล็ด พบตามข้างลำธาร ริมแม่น้ำ ที่ชื้นแฉะ ในป่าเบญจพรรณ ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมิถุนายน ยอดอ่อนใช้ปรุงอาหารได้ แต่ต้องนำมาดองน้ำเกลือตากแดด ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน แล้วจึงนำไปปรุงอาหาร โดยผัดหรือแกงได้
ใบกุ่มน้ำ มีใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียวเป็นมัน ด้านล่างใบมีสีอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบมีความประมาณ 4-14 เซนติเมตร หูใบเล็ก ร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปใบหอกหรือขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4.5-18 เซนติเมตร ปลายค่อย ๆ เรียวแหลม มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร โคนสอบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยวเล็กน้อย ใบย่อยไม่มีก้าน หรือถ้ามีก็ยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ใบกุ่มน้ำมีเส้นแขนงของใบข้างละประมาณ 9-20 เส้น และอาจมีถึงข้างละ 22 เส้น เส้นใบสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านล่าง เมื่อใบแห้งจะมีสีค่อนข้างแดง
กุ่มบก โดยทั่วไปแล้วคนไทยสมัยก่อนมักปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ผล, ใบ, ดอก, เปลือกต้น, กระพี้, แก่น, ราก และเปลือกราก นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าต้นกุ่มจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะมีความเชื่อว่าการปลูกต้นกุ่มเป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยทำให้ครอบครัวมีฐานะมั่นคง เป็นกลุ่มเป็นก้อน เหมือนชื่อของต้นกุ่ม โดยจะนิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน

ต้นโคคลาน จัดเป็นพรรณไม้เถา เถามีลักษณะกลมและมีขนาดใหญ่เท่าขาของคน หรือมีขนาดใหญ่เท่ากับต้นหมาก มีเนื้อไม้แข็ง ส่วนเถานั้นจะยาวและเลื้อยพันขึ้นไปตามต้นไม้หรือเลื้อยไปตามพื้นดิน ส่วนเถาอ่อนหรือกิ่งของเถาอ่อนจะมีหนาม เปลือกเถาเรียบเป็นสีดำแดงคร่ำและจะแตกเป็นร่องระแหง และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยเป็นพรรณไม้ที่มักเกิดขึ้นตามธรรมชาติในป่าหรือตามพื้นที่ราบ

สรรพคุณ
โคคลานช่วยบำรุงโลหิต (ราก)
เถาเป็นยาแก้กษัย (เถา)
ผลมีสารพิโครท็อกซิน (Picrotoxin) มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง และได้มีการนำมาใช้เป็นยารักษาพิษในคนที่กินยานอนหลับจำพวกบาร์บิทูเรต (Barbiturate) เกินขนาดหรือฉีดเข้าเส้นเลือดในขนาน 2 มิลลิกรัม (ผล)

มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นผลไม้สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะของผลจะมีสีแดงเรียวเล็กคล้ายกับมะเขือเทศราชินี สำหรับรสชาติของผลสุกจะออกหวานนุ่มลิ้น แต่ถ้ายังไม่สุกจะมีรสเปรี้ยวจี๊ดเข็ดฟัน มีธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง เมื่อกัดไปแล้วจะมียางเหนียว ๆ ฝาดคอ

สรรพคุณ
มะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)
แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล)
ช่วยรักษาโรคไต (ผล)
บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)
ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)

กระทือ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายมายังทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่เหนือดินสูงราว 0.9-1.5 เมตร และมีเหง้าอยู่ใต้ดินเรียกว่า “เหง้ากระทือ” หรือ “หัวกระทือ” เปลือกนอกของเหง้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม มีรสขม ขื่น ปร่า และเผ็ดเล็กน้อย ต้นจะโทรมในหน้าแล้งแล้วจะงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือที่เรียกว่าหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ในที่ที่มีความชื้นพอสมควร และมีแสงแดดส่องตลอดวัน พบขึ้นมากทางภาคใต้ ตามป่าดงดิบ ริมลำธารหรือชายป่า

สรรพคุณ
สรรพคุณของเหง้าใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เหง้า)
ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก)
ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหาร (เหง้า)
ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้สามารถรับประทานอาหารมีรสได้ (ต้น)
ช่วยแก้โรคผอมแห้ง ผอมเหลือง (ดอก)
ช่วยขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ (ใบ)
แก้เบาเป็นโลหิต (ใบ)

ต้นเถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง (เนื้อไม้มีรสเฝื่อนและเอียน) ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี หากปลูกในที่แล้งจะออกดอกดก แต่จะมีขนาดเล็กกว่าปลูกในที่ชุ่มชื้น พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทยและใช้กันทุกจังหวัด

สรรพคุณ
เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายกระษัย แก้กระษัย (เถา)

รากมีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก)
ช่วยแก้หวัด แก้ไอ (เถา)


 




ภูมิปัญญาท้องถิ่น

กลุ่มวิสาหกิจแม่บ้านเอื้ออาทร article
รายชื่อวิสาหกิจชุมชน OTOP article
ภูมิปัญญาชาวบ้าน (แกะสลักไม้)



Copyright © 2014 All Rights Reserved.